จะบอกครอบครัวอย่างไรเมื่อมีปัญหาระหว่างเรียนต่างแดน

Insight: การมาเรียนต่างประเทศของคนในเอเชียส่วนมากเป็นโครงการใหญ่ของครอบครัว หลายครั้ง ความคาดหวังจากทางบ้านก็เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ จนกลายเป็นความกดดันต่อชีวิตนักศึกษาไกลบ้านในสถานที่และระบบการศึกษาที่ไม่คุ้นเคย

Some Filipinos are being lured into studying in  Australia and New Zealand in the guise of finding legitimate employment after completion of course.

Some Filipinos are being lured into studying in Australia and New Zealand in the guise of finding legitimate employment after completion of course. Source: Pixabay

“ในฐานะตัวแทนนักศึกษาฮ่องกง ฉันกังวลที่จะบอกพ่อแม่ว่า ตอนนี้ภาระที่มีนั้นมากเกินไป พวกเขาต้องการให้ฉันเรียนอย่างหนัก และอยู่ในมหาวิทยาลัยออสเตรเลีย” - นักศึกษาไม่ประสงค์ออกนาม

การมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย และเข้าศึกษาด้วยตนเองในระบบการศึกษาที่ไม่คุ้นเคยนั้นเป็นเรื่องยากอย่างมาก คุณอาจเจอกับปัญหากำแพงด้านภาษา ซึ่งนั่นจะทำให้คุณวิตกกังวล และมีความเครียดมากขึ้น ดิฉันจินตนาการได้ว่า จะต้องมีช่วงเวลาหนึ่งที่คุณอาจรู้สึกโดดเดี่ยว

จากการได้ทำงานร่วมกับนักศึกษาต่างชาติ ดิฉันได้เห็นว่า ความกดดันที่พ่อแม่มอบให้กับลูกนั้น สามารถสร้างผลกระทบกับระดับความเครียด และสุขภาพจิตของพวกเขาได้มากขนาดไหน หากคุณกำลังเผชิญเรื่องทำนองเดียวกันนี้ คุณไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว เพราะจากรายงานล่าสุด พบว่า กำแพงด้านภาษา วัฒนธรรม และระบบการศึกษา นักศึกษาต่างชาตินั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาด้านสุขภาพจิต มากกว่านักเรียนในท้องถิ่น 

ทั้งนี้ ยังไม่มีสถิติใดในแง่ของสุขภาพจิตของนักศึกษาต่างชาติจากประเทศจีน แต่ข่าวที่เกี่ยวข้องเมื่อเร็วๆ นี้ได้ชี้นำให้เราเห็นถึงความแพร่หลายในปัญหาดังกล่าว

แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่คุณก็ควรที่จะบอกให้พวกเขารู้

การได้เป็นนักศึกษาต่างประเทศ เป็นโครงการใหญ่ของครอบครัว ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายสำหรับคนๆ หนึ่งเท่านั้น นักศึกษาจากประเทศในแถบเอเชียหลายคนได้รับการสนับสนุนทางการเงินและจิตใจจากครอบครัวที่ประเทศบ้านเกิด

นักศึกษาเหล่านั้น ได้แบกเอาความฝันใฝ่และความตั้งใจจากครอบครัวมาด้วย พวกเขาคิดว่า การศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อที่จะได้ทำงานในตำแหน่งดีๆ เรื่องนี้ฟังดูคุ้นเคยสำหรับผู้อ่านหลายๆ ท่านใช่หรือไม่

หากมองลึกลงไป หลายคนที่เกิดในประเทศจีนเชื่อว่า ความสำเร็จในด้านการศึกษา เป็นสิ่งที่ล้วนได้มาจากความขยันหมั่นเพียร ดังนั้น พ่อแม่ชาวจีนจะเชื่อว่า ลูกหลานของพวกเขาสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ ถ้าเพียรพยายามอย่างหนัก คุณค่าของการศึกษานั้น มีอิทธิพลอย่างมากตามธรรมเนียมของขงจื๊อ

หากคุณทำได้ คุณควรลองที่จะบอกพ่อแม่ว่าคุณรู้สึกอย่างไร การเปิดเผยอย่างจริงใจอาจะเป็นเรื่องยากมาก นั่นก็เพราะคุณอาจกลัวว่า พวกเขาอาจเข้าใจผิด และนำความอับอายมาสู่ครอบครัว ถ้าพวกเขารู้ว่าคุณกำลังลำบาก

การพูดคุยกับพ่อแม่นั้นไม่มีวิธีที่แน่นอน เพราะความสัมพันธ์ของในครอบครัวของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์ นึกอยู่เสมอว่า มันไม่มีอะไรน่าอับอาย ถ้าต้องบอกกับพ่อแม่ให้รู้ว่าคุณต้องการความช่วยเหลือในการมีชีวิตอยู่ในออสเตรเลีย

คุยกับเพื่อนที่รู้ใจ

ระหว่างที่คุณอยู่ในออสเตรเลีย มันสำคัญมากที่จะหาใครสักคนที่คุณสามารถพูดคุยกันได้ มีนักเรียนจากฮ่องกงมากกว่า 17,000 คนในออสเตรเลีย

บ่อยครั้ง นักศึกษาต่างชาติมักจะเข้าสังคมกับนักเรียนคนอื่นๆ คุณรู้จักนักศึกษาประเทศเดียวกับคุณหรือเปล่า มีกลุ่ม ชมรม สมาคม หรือองค์กรสังคมเกี่ยวกับนักเรียนต่างชาติในสถานศึกษาที่คุณอยู่หรือไม่ ลองดูบนเฟซบุ๊ก หรือป้ายประกาศต่างๆ ในสถานศึกษา 

คุณไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนกับผู้ที่มีภูมิหลังประเทศเดียวกับคุณก็ได้ มีผู้คนมากมายที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกันนี้ พวกเขาต่างมีความเครียด และอยู่อย่างโดดเดี่ยวในประเทศนี้

เน้นที่ตัวคุณเอง

ความสามารถที่คุณจะเติบโตอย่างมั่นใจ จะส่งผลอย่างมากกับสุขภาพจิต และการกินดีอยู่ดีของคุณ โดยการดูและตัวเองนั้นเป็นก้าวแรกที่จะรับมือและป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต

นี่คือวิธีที่คุณสามารถทำได้

  • คุณชอบอาหารหรือเปล่า อาหารที่คุณชอบคืออะไร การได้กินอาหารที่คุณคิดถึงอาจทำให้คุณรู้สึกสบายขึ้นได้ ในยามที่คุณคิดถึงบ้าน แต่ถ้าคุณทำอาหารไม่เป็น ลองหาวิดิโอสอนทำอาหารตามเว็บไซต์ YouTube ค้นหาอาหารที่คุณอยากกิน

  • การลองฟังหรืออ่านประสบการณ์ของนักศึกษาคนอื่นๆ ในการเอาชนะใจตัวเองได้ อาจเป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ

  • หากคุณใช้งานอินสตาแกรม ลองติดตาม ที่มีคำแนะนำ เรื่องราว และประสบการณ์จริงจากนักศึกษาต่างชาติในออสเตรเลีย คุณไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว 

  • หากภาษาอังกฤษยังคงเป็นอุปสรรคสำหรับคุณ มีวิธีการมากมายที่จะช่วยให้คุณพัฒนาภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น ลองไปเป็นอาสาสมัครตามโรงเรียนในท้องถิ่น ในกิจกรรมของสถานศึกษาของคุณ หรือใช้เวลาสัปดาห์ละ 1-2 ชั่วโมง ในการไปเป็นอาสาสมัครกับองค์กรในชุมชน เช่น สถานดูแลผู้สูงอายุ หรือห้องสมุด เหล่านี้จะทำให้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของออสเตรเลีย และสร้างความมั่นใจในการสื่อสารของคุณผ่านประสบการณ์ที่คุณจะได้รับ

ยังมีคนให้คุณพูดคุยอีกมาก

หากคุณยังรู้สึกไม่สบายใจที่จะพูดคุยกับทางบ้าน หรือแม้กับเพื่อน เราขอให้คุณพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ หากคุณอยู่ในเมืองหลวง ค้นหาในเว็บไซต์กูเกิลว่า “thai speaking psychologist” ก็จะได้รายชื่อนักจิตวิทยาที่คุณสามารถติดต่อเพื่อพูดคุย

นี่เป็นอีกทางเลือกที่คุณอาจสนใจ

  • หน่วยงานศึกษาธิการแห่งสหพันธรัฐ (Federal Education Department) มีสายด่วนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1300 363 079 ให้บริการตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ 08:00 - 18:00 น.

  • ตรวจสอบรายชื่อมหาวิทยาลัยที่มีบริการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว

  • ตรวจสอบบริการสนับสนุนนักศึกษาต่างชาติในออสเตรเลีย  

คุณอาจติดอยู่ในปัญหา เพราะคุณกังวลถึงพ่อแม่มากจนเกินไป แต่พวกเขาก็ต้องการให้คุณมีชีวิตอย่างเป็นสุขในออสเตรเลีย นึกไว้เสมอว่า ความมุ่งมั่นที่คุณมีก็สำคัญพอๆ กับความหวังที่พ่อแม่มีกับคุณ

หากทุกสิ่งไม่ดีขึ้น และพบว่าคุณไม่เหลือใครให้พูดคุย มี 2 บริการด้านสุขภาพจิตที่อาจช่วยคุณได้ ที่ Lifeline หมายเลขโทรศัพท์ 131 114 หรือ beyondblue หมายเลขโทรศัพท์ 1300 22 46 36

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่

You can read the full version of this story in English on SBS News .

Share
Published 15 August 2019 2:09pm
Updated 15 August 2019 2:17pm
By Hannah Soong
Presented by Tinrawat Banyat
Source: Insight, The Conversation


Share this with family and friends