รวมสิ่งที่คุณจะได้ยินในประเทศออสเตรเลียหากว่าคุณไม่ใช่คนขาว

SBS GUIDE: “จริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหนกันแน่?” นั่นแค่เบื้องต้นนะ...

Businesswoman frowning

อะไรนะ? Source: OJO Images RF

เรื่องชวนหัว

หลังจากเลิกงานวันหนึ่ง ผมมานั่งที่บาร์ย่านชานเมืองในนครซิดนีย์ที่ผมได้อาศัยอยู่มาหลายปีดีดัก ซึ่งก็เป็นย่านที่จัดว่า “หรู” แห่งหนึ่ง ไม่ถึงกับว่าจะมีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้น แต่ก็ทำให้ผมนึกถึงแถบย่านแฮมป์ตันในนิวยอร์ก ซึ่งสวยงามมาก อยู่ใกล้กับแม่น้ำ และมีคฤหาสน์มากมาย และเศรษฐีเดินไปเดินมาสวมรองเท้าโลฟเฟอร์และเอาเสื้อถักกันหนาวมาพาดห้อยคอไว้

ที่บาร์นี้ ผมพยายามอย่างเต็มที่ที่จะไม่ยุ่งกับใครโดยนั่งฟังเพลง รับประทานอาหารและดื่มเบียร์ไป ปกติแล้ว การที่ผมสวมหูฟังเอาไว้นั้นจะแสดงว่าผมไม่ได้รู้สึกอยากจะพูดคุยสักเท่าไร แต่ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งซึ่งนั่งติดกับผมที่บาร์ก็ดูจะไม่เข้าใจนัยที่ผมบอกใบ้ไว้เช่นนี้ เขามีอารมณ์อยากจะพูดคุย และปรากฏว่าพูดคุยอย่างจริงจังเสียด้วย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเรากับเทคโนโลยี และการที่พวกเรานั้นผูกติดอยู่กับโทรศัพท์อย่างไม่มีทางออก เขาต้องการทราบว่าทำไมพวกเรานั้นถึงไม่อ่านหนังสือพิมพ์อีกต่อไป แล้วเกิดอะไรขึ้นกับหนังสือต่างๆ

ผมสามารถแสดงออกให้ชัดเจนได้ว่าต้องการหยุดการสนทนา แต่ผมก็สามารถจะฟังเพลงและอ่านหนังสือเมื่อไรก็ได้ นี่เป็นโอกาสที่จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ของผม กับเพื่อนบ้าน ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ผมอยากจะให้เขารู้สึกว่ามีคนรับฟังเขา ราวกับว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นมันสำคัญ บางทีเขาอาจจะไม่มีเพื่อนหรือครอบครัวที่จะมาฟังการบ่นปรารภแบบนี้ บางทีสิ่งเดียวที่เขาได้ยินที่บ้านนั้นอาจจะเป็น “เงียบไปได้มั้ย คุณปู่” หรือ “ทำไมตาแก่อย่างคุณไม่ไปรับประทานอาหารเย็นในโรงรถเสียเลยล่ะ?”

หลังจากที่พยายามทำให้เขารู้สึกมั่นใจว่าผมยังคงอ่านหนังสือพิมพ์และหนังสื่อๆ ต่างๆ ทางดิจิตอล และผมก็เล็งเห็นถึงความวิตกกังวลของเขาในเรื่องการคอยพึ่งพาอุปกรณ์ ผมก็เก็บข้าวของเตรียมตัวที่จะลุก ซึ่งเขานั้นก็ไม่พอใจ

“ถ้างั้น เราก็สนทนากันเสร็จแล้วสินะ” เขากล่าว

“ใช่ครับ คือว่ามันก็น่าสนใจ แต่ผมจำเป็นต้องกลับบ้าน” ผมว่า

“แล้วนั่นคือที่ไหนล่ะ” เขาพูดต่อ “บังกลาเทศเหรอ?”

จบข่าว

คุณเห็นหรือไม่ ว่าแม้ว่าผมเพิ่งจะเสียเวลาในชีวิตของผม 45 นาทีเพื่อฟังชายผู้นี้สั่งสอนผมว่าเทคโนโลยีนั้นเลวร้ายเพียงใด ผมก็ไม่ใช่คนขาว เพราะฉะนั้นผมไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่อาศัยในย่านนั้น ผมต้องอยู่ที่ใดก็ตามที่พวกคนผิวสีน้ำตาลนั้นเดินทางออกมา ถึงแม้ว่าเขาจะได้ฟังผมพูดคุยด้วยสำเนียงอเมริกันที่ชัดเจน

ผมเลือดเดือดขึ้นมาทันที... ผมนั้นสุภาพกับตาขี้บ่นนี้อย่างไม่มีที่ติมาตลอด แต่เขากลับยังรู้สึกว่าจำเป็นต้องทำตัวเหนือกว่าผม -และวิธีที่ดีที่สุดที่เขาจะทำเช่นนั้นก็โดยการทำให้ผมรู้สึกแปลกแยกเป็นคนต่างด้าว ผมอยากจะพูดอะไรที่เลวร้ายมากมายเกี่ยวกับตัวเขา ทั้งการที่เขานั้นทำให้ผมมีความชัดเจนอย่างมากกับความรู้สึกของผมที่มีต่อย่านพักอาศัยแถวนี้ แต่ก็เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ที่ผ่านๆ มา ผมก็ไม่ทำอะไร

ผมยิ้มอย่างสุภาพแล้วก็ตอบว่า “ไม่หรอก ผมอยู่ถัดจากหัวมุมไปนี่เอง”

หลังจากนั้นผมก็จ่ายเงินแล้วเดินออกมา แล้วก็ใช้เวลาที่เหลือของคืนนั้นครุ่นคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ซึ่งผมเสียดายที่ไม่ได้พูดกับเขาออกไป

เรื่องนี้ ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่พวกเด็กๆ เรียกว่าความรุนแรงขนาดยิบย่อย หรือ (เป็นศัพท์จากทศวรรษที่ 70s เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ผลของ “วาทกรรม(การเมืองๆ)ซึ่งถูกต้องไม่มีที่ติให้จับผิด หรือ political correctness ที่บ้าบอเกิน”) มันเป็นแค่การพูดตลกนิดๆ หน่อยๆ เกี่ยวกับเชื้อชาติซึ่งดูเผินๆ แล้วไม่มีพิษมีภัย แต่ว่าอย่างน้อยมันสามารถที่จะทำลายวันที่ดีของคุณลงได้ และอย่างมากก็จะก่อให้คุณเกิดความรู้สึกว่าหากคุณไม่ใช่คนขาวคุณก็เป็นคนนอก คุณไม่ปกติและไม่เป็นที่ต้อนรับ

มันน่าโกรธขึ้งเป็นอย่างมาก และก็เป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมันก็เป็นสิ่งที่ผู้คนผิวสีได้ยินอยู่ตลอดเวลา เช่น “จริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหนกันแน่?” (อนึ่ง วลีดังกล่าวนั้นพบได้ทั่วไปจนกระทั่งถูกใช้เป็นชื่อของซีรีส์ทางเอสบีเอส ซึ่งพาพวกเราไปรู้จักกับชุมชนซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนซึ่งดูไม่เหมือน “ชาวออสเตรเลีย” แต่พวกเขานั้นอยู่ที่นี่มาแล้วหลายชั่วอายุคน ขณะนี้  

แล้วยังมีตัวอย่างอื่นๆ ของสิ่งที่คนผิวสีในประเทศออสเตรเลียยังได้ยินอยู่อย่างสม่ำเสมอหรือไม่?

เพื่อให้ทราบเรื่องนี้ ผมได้ตั้งคำถามในกลุ่มออนไลน์ของชาวออสเตรเลียซึ่งไม่ใช่คนขาว ว่ามีคำถามหรือคำพูดอะไรที่พวกเขาได้พบเจอมาบ้าง ซึ่งคำตอบนั้นล้นหลามเลยทีเดียว ตั้งแต่ความฝักใฝ่ทางเพศด้วยจินตนาการด้านเชื้อชาติ ไปจนถึง “คำชม” ต่อการพูดภาษาอังกฤษ ไปจนถึง มันชัดเจนว่ามีรายการอย่างยาวเหยียดสำหรับสิ่งที่ชาวออสเตรเลียซึ่งไม่ใช่คนขาวนั้นได้ยินจนชาชิน

ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งซึ่งพบได้บ่อยๆ...

“จริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหนกันแน่?”

มักจะพุ่งเป้าไปยังคนผิวสีซึ่งระบุไปแล้วว่าเขานั้นมาจากออสเตรเลีย โดยพบได้บ่อยมาก แล้วต้องการจะสื่ออะไร? หากคุณไม่ใช่คนขาว

คนเกือบทั้งหมดเห็นด้วยว่ามันไม่ดีเท่าใดนัก แต่ก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเมื่อมองถึงเจตนา บางคนคิดว่าการสนทนาแลกเปลี่ยนกันระหว่างคนสองคนซึ่งมีความอยากรู้อยากเห็นอย่างจริงใจนั้น ควรจะสามารถเกิดขึ้นได้จากคำถามที่ว่า “คุณมาจากที่ไหน?” หรือ “พื้นเพของคุณคืออะไร” แต่คนอื่นๆ ก็คิดว่าคำถามดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อผู้ถามเป็นคนขาวนั้น เพราะว่าคนขาวเองนั้นกลับไม่เคยถูกถาม

ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ผมคิดว่าคำถามดังกล่าว (หากไม่มีคำว่า “จริงๆ แล้ว” ซึ่งยกตัวผู้ถามขึ้นเหนือกว่า) ก็สามารถเป็นวิธีเริ่มการสนทนาอย่างเป็นมิตรได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีเจตนาที่ดี มันก็น่าเหนื่อยหน่ายหากจะคอยถูกปฏิบัติด้วยความอยากรู้อยากเห็นทางมานุษยวิทยาอยู่ร่ำไป...

คำพูดที่ตามมา:

“ฉันจำเป็นต้องถามว่าคุณมาจากที่ไหนเพราะคุณดูไม่เหมือนชาวออสเตรเลีย”
middle aged woman with a frowning face
Sorry what? Source: Digital Vision

“คุณพูดภาษาอังกฤษได้ดีมากๆ”

บ่อยครั้งมาก ถึงแม้ว่าจะมีวุฒิการศึกษาที่หลากหลาย โดยมักจะใช้พูดด้วยน้ำเสียงที่มั่นใจและแสดงว่าตนเองนั้นเหนือกว่าด้วยอารมณ์ว่า “นั่นมันดีสำหรับเธอหรอกนะ...” ซึ่งก็คล้ายๆ กับกรณีอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่การว่าร้าย หรือเป็นการโจมตีกันในเรื่องเชื้อชาติอย่างชัดเจน แต่มันก็เป็นการไม่ให้เกียรติกัน

“แต่คุณไม่เหมือนคนอื่นๆ”

อันนี้ก็ถือว่าคลาสสิก อยู่ในหมวดหมู่ “คุณน่ะจัดอยู่ในพวกที่ดี”

“คุณต้องคุ้นเคยกับความร้อนขนาดนี้แน่ๆ เลย”

ความคิดที่ว่าใครคนหนึ่งมีเพียงแค่เชื้อสายที่มาจากอีกประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ประหลาดมากสำหรับบางคน ซึ่งจะไม่สามารถเข้าใจได้เลย - ถึงขั้นที่ว่าพวกเขาจินตนาการไปว่าจะมีอำนาจวิเศษ superpowers บางอย่างซึ่งจะติดมาด้วย แม้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศนั้นน้อยนิดเพียงใดก็ตาม

ขอกล่าวถึงเป็นพิเศษ:

“คุณคงพัฒนาภูมิคุ้มกันโรคเอาไว้อย่างมากมายเลยจากท้องถิ่นที่มาของคุณ”

“คุณเป็นคน [‘เชื้อชาติ’] ที่ร้อนแรงที่สุดที่ฉันได้เคยพบเจอมา

แปลว่า: “ผู้คนซึ่งไม่ใช่คนขาวนั้นโดยทั่วๆ ไปแล้วไม่มีเสน่ห์ แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามคุณนั้นเป็นคนที่แหวกแนวออกไป”

“คุณเป็นผู้ลี้ภัยหรือเปล่า?”

พูดด้วยความห่วงใยที่แท้จริงหรือด้วยความกรุณา คำถามนี้จะมาจากคนที่ได้ทราบว่าบุคคลนั้นๆ มาจากประเทศที่ประสบกับความไม่สงบ แต่ทว่ากับสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจต่อประเทศดังกล่าวที่มีอยู่เพียงน้อยนิด

“คุณเป็นคนจีนหรือเปล่า?”

“ภรรยาของผมมาจากประเทศจีน”

“หนีห่าว”

“คุณพักอาศัยอยู่ในเมือง แสดงว่าคุณไม่ใช่ชาวอะบอริจินที่แท้จริง”

สะพรึงกันไป.

สำหรับคนที่ผมสอบถามซึ่งเป็นชาวอะบอริจิน “สิ่งที่พวกเขาได้ยิน” นั้นน่ากลัวกว่ามาก และเป็นอันตรายเลยทีเดียว

จากตำรวจ: “คุณตรงตามรูปพรรณสัณฐาน”

ระหว่างที่รอรถประจำทาง: “คุณไปทำอะไรที่นั่น?”

ระหว่างที่เดินไปโรงเรียนในชุดนักเรียน: “คุณกำลังจะไปไหน?”

ที่บ้านขณะที่กำลังทำสวน: “คุณอาศัยอยู่ที่นี่หรือเปล่า?”

และก็มีชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียจำนวนหนึ่งเลยทีเดียวที่ก็ กับคำถามว่า “คุณมาจากที่ไหน?” โดยบางคนถึงกับถูกตอกว่า “มาจากที่ไหนก็กลับไปที่นั่นซะ”

“คุณเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนหรือเปล่า?”

“ฉันชอบอาหาร [เติมชื่ออาหาร ‘ชาติพันธุ์’ หนึ่ง]

ประการแรกเลย พวกเราควรจะ เพื่อเป็นคำรวมๆ สำหรับ “อาหารซึ่งไม่ได้มาจากประเทศคนขาว” ในความเป็นจริงแล้ว พวกเราอาจควรจะ มันเป็นการแบ่งเขาแบ่งเรา และดูทึ่มๆ โดยเฉพาะเมื่อใช้เพื่อพูดอธิบายถึงผู้คน

ส่วนการที่คุณจะแสดงความรักต่ออาหาร ดูเผินๆ แล้วก็เหมือนจะเป็นสิ่งที่ดีที่จะพูดออกไป คุณเพิ่งจะทราบว่าผมเป็นชาวเลบานอน แล้วคุณก็ชอบอาหารเลบานอน เยี่ยมไปเลย! อย่างไรก็คงจะดีกว่าจะบอกว่าคุณเกลียดอาหารเลบานอน และมันก็ฟังดูเหมือนกับว่าคุณพยายามที่จะหาส่วนร่วมในอะไรบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน แต่ในขณะเดียวกันมันก็ดูจะง่ายไปหน่อยนะ การที่จะปฏิบัติกับใครราวกับว่าเขานั้นเป็นตัวแทนของทั้งวัฒนธรรมนั้น คนเกาหลีอาจจะชอบอาหารเกาหลี แต่พวกเขาก็อาจจะชอบอาหารอื่นๆ ด้วยได้อีกมากมาย เช่นเดียวกับคนอื่นๆ

และในความเป็นจริงแล้ว บางคนก็อาจจะมีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมที่ได้รับการยกขึ้นมาชื่นชมนั้นเพียงน้อยนิด บาง “เผ่าพันธุ์” (ฟังแล้วน่าขนลุกไหมล่ะ?) นั้นอยู่ในประเทศนี้มาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนแล้ว เพราะฉะนั้น ความแนบชิดทางวัฒนธรรมของพวกเขานั้นก็ไม่ได้เท่ากันเสมอไป ภาษาแม่ของพวกเขานั้นอาจจะเป็นภาษาอังกฤษ และพวกเขาก็เติบโตขึ้นมาโดยรู้จักแค่เพียงประเทศออสเตรเลีย การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมหนึ่งนั้นต้องใช้ทั้งความพยายามและเวลา และคนเหล่านี้ก็อาจมีความสนใจไปในเรื่องอื่นแทนก็ได้

ความกระตือรือร้นในด้านวัฒนธรรมยังอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่ว่า “ฉันรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเธอ มากกว่าที่เธอรู้เสียอีก” ซึ่งนั่นก็จะเป็นข่าวร้ายสำหรับทุกๆ คนที่เกี่ยวข้อง

ขอกล่าวถึงเป็นพิเศษ:

“ฉันชอบ [เติมปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมเช่น โยคะ คาราเต้ มารีอาชี ฯลฯ]!”

“ฉันมีเวลาที่แสนจะสุขสันต์ที่ [ประเทศนั้น]”

“คุณมีมุมมองที่เสรีมากๆ เลยในฐานะผู้หญิงเอเชีย”

“คุณอาจจะเป็นคนอินเดีย แต่ฉันรู้เกี่ยวกับประเทศอินเดียมากกว่าคุณอีก”

หรืออย่างที่ผู้เข้าร่วมตอบคำถามท่านหนึ่งได้กล่าวไว้: “คนขาวซึ่งโม้ว่าตัวเองนั้นเก่งภาษาแมนดารินกว่าคนจีน(บางคน)นั้นถือว่า เห้... ที่สุด”

“เกิดอะไรขึ้นกับมาเลเซียแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 370!?”

“โอ้ คุณดูไม่เหมือนคนกัมพูชาเลย”

อันนี้ก็สำคัญ การที่ประหลาดใจอย่างมากเมื่อพบว่าใครสักคนนั้นมาจากที่ใดสักแห่งแล้วก็ดูแล้วไม่เหมือนเลย

ซึ่งคำพูดที่ตามมาเนื่องจากรูปลักษณ์ภายนอกนั้นก็รวมไปถึง...

“ฉันมีเพื่อนจากประเทศนั้น แต่ว่าพวกเขาดูไม่เหมือนคุณเลย”
“โอ้ ฉันดูออกว่าคุณเป็นคนอินเดียเนื่องจากจมูกของคุณ”

“เดี๋ยวก่อน! อย่าเพิ่งบอกฉัน [ว่าจริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหน] ฉันอยากจะทาย!”

“คุณไม่ใช่คนเอเชียสิ! คนเอเชียผิวเหลือง!”

“ฉันคิดว่า พหุวัฒนธรรม / การอพยพย้ายถิ่นฐานนั้นเยี่ยมไปเลย”

ขอบคุณมากนะ และก็ยินดีด้วย

“คุณกลับไป [ที่ซึ่งคุณไม่เคยแม้แต่จะอยู่] บ่อยไหม?”

“ขอฉันจับผมของคุณได้ไหม?”

อันนี้ จาก สำหรับชาวอาฟริกัน-อเมริกันในสหรัฐฯ จนกระทั้งได้เป็น  และดูเหมือนมันจะลามมาถึงทวีปโลกใต้นี้แล้ว

ยังมีอีกจำนวนหนึ่ง:

“คุณรู้จักชายคนดำที่สามารถจะแนะนำให้ฉันรู้จักได้หรือไม่?”
“ฉันชอบชาย/หญิง คนดำ”

“ฉันไม่สนใจต่อเรื่องสี(ผิว)”

“ชาวอะบอริจินดูมีวิวัฒนาการน้อยกว่า”

“คุณไม่ใช่คนดำ คุณเป็นคนอเมริกัน”

“พวกเราล้วนแต่เป็นมนุษย์”

ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการตั้งคำถามของผมยังได้กล่าวถึงกระแสของคนขาวที่จะ   หรือพยายามที่จะเบี่ยงเบนหรือปัดการสนทนาเกี่ยวกับการเหยียดเชื้อชาติ โดยใช้การกล่าวข้างต้น หรือไม่ก็ดังต่อไปนี้:

“ฉันไม่สนใจว่าคุณจะดำ ขาว เหลือง ม่วง…”

ฟังแล้วราวกับว่าคนม่วงๆ ทั้งหลายก็ไม่ต้องวิตกกังวลแล้วสินะ

“อืม... คุณดูเป็นของแปลก”

“ฉันไม่เคย เ---ด หญิงผิวน้ำตาล/ดำ/สีต่างๆ มาก่อน”

“ฉันชอบผู้หญิงเข้มๆ”

“แล้วคุณจะเป็นหมอนวดไทยประจำตัวของผมได้หรือเปล่า?”

“คนที่มีเชื้อชาติผสมเล็กน้อยนั้นร้อนแรงมาก”

“โอ้ คุณเดทกับคนขาวชาวออสเตรเลียหรือ? พระเจ้า ลูกของคุณจะต้องร้อนแรงมากๆ!”
Businessman rubbing his eye
Oh boy... Source: Photodisc

ช่วงของ “นี่คุณพูดเรื่อง เห้... อะไรอยู่เนี่ย? ไปไกลๆ ตี...เลย”

บางสิ่งที่ผู้คนบอกกับผมว่าเคยได้ยินนั้น ช่างเฉพาะเจาะจงและน่าประหลาดดีแท้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป็นการดีที่จะให้มีช่วงพิเศษเป็นของตัวเองไปเลย

“วัฒนธรรมของคุณจะต้องกดขี่อย่างมากๆ แน่ คุณจะต้องรูสึกเป็นอิสระอย่างมาก ที่ได้อาศัยอยู่ที่นี่”

“ฉันเคยได้ยินว่าผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้นได้รับคฤหาสน์ และได้งานทำเมื่อเดินทางมาถึง นั่นจริงหรือเปล่า?”

แน่นอน.

“ผู้หญิงที่มีผิวสีอย่างของคุณน่ะ จะไม่ได้งาน” - เอเยนต์ตัวแทนนางแบบ

“ไม่มีใครสามารถบอกอายุของผู้หญิงอินเดียได้ หากคุณเป็นแฟนสาวของพวกเรา เราก็แค่จะบอกทุกคนว่าคุณอายุ 20 กว่าๆ”

“ของพวกเรา”?

“งั้นพ่อแม่ของคุณคงจะเตรียมแต่งงานแบบคลุมถุงชนให้คุณสินะ?

“คุณมาจากอินเดียหรือ? ฉันไปอินเดียมาครั้งหนึ่งเมื่อสิบปีที่แล้ว ฉันแวะที่สนามบินมุมไบเป็นเวลา 4 ชั่วโมงระหว่างทางไปลอนดอน มันแย่มากเลย ทั้งร้อนและเหม็นมาก ฉันไม่รู้ว่าคุณอยู่อย่างนั้นได้อย่างไร แล้วก็ยังมีความยากจนทั้งหลายทั้งปวงอีก”

“มันคงจะยากมากสำหรับสามีของคุณที่จะแต่งงานเข้ามาในครอบครัวของคุณ เขาถูกเกลียดชังเพราะว่าเป็นคนขาวหรือเปล่า?”

“ฉันอิจฉาสีผิวของคุณมาก - คุณจะสวมใส่อะไรก็ได้!”

“โอ้ คุณรู้จัก บ็อบ ดีแลน ได้อย่างไร?”

“คุณเป็นคนปาเลสไตน์ คุณชอบขว้างหินหรือเปล่า?”

“แล้วคุณออกเสียงชื่อของคุณอย่างไร? ถ้าฉันจะขอเรียกคุณว่า [แบบสั้นลง]? ไม่ได้เหรอ?

นั่นมันไม่เป็นแบบออสเตรเลียเลยนะ และคุณก็เป็นนางร้าย (bitch)”

ช่วงของ “นี่มันการเหยียดเชื้อชาติชัดๆ”

และแน่นอน บางสิ่งที่ผู้คนบอกกับผมนั้น เป็นการทำร้ายทางวาจาทีมีแรงผลักดันจากการเหยียดเชื้อชาติ - เพราะฉะนั้นก็จะมีช่วงเฉพาะให้เลย

“สิ่งที่ฉันเกลียดเกี่ยวกับคนอินเดียคือการไม่ยอมให้เสียหน้า”

ผมไม่เข้าใจว่ามันหมายถึงอะไร แต่ว่าข้อความดังกล่าวนั่นขึ้นต้นด้วย “สิ่งที่ฉันเกลียดเกี่ยวกับคนอินเดีย” ความน่าจะเป็นก็คือเรากำลังมุ่งสู่พื้นที่ขัดแย้ง

“เราสร้างทางรถไฟของคุณ”

เช่นกัน ผมไม่เข้าใจ แต่ผมเดาว่ามีการรอคำขอบคุณอยู่

“คุณมากับเรือลำไหน?”

และในบางครั้ง การเกลียดชาวต่างชาติก็แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ทั้งทางการเมืองและอย่างรุนแรง...

(อนึ่ง “คุณมาที่นี่ทางเรือหรือเปล่า?” เป็นหนึ่งในคำถามซึ่งใช้  ในสารคดีของเอสบีเอส  )

เช่นเหล่านี้:

“ทำไมคุณจึงคิดว่าคุณสามารถมาที่นี่เพื่อแย่งงานของพวกเราไปได้?”
“คุณควรสำนึกในบุญคุณ ที่คุณได้รับอนุญาตให้มาที่ประเทศนี้ได้”
“คุณไม่ได้ปรับเปลี่ยนตัวตามแบบแผนของที่นี่”

และถ้าหากว่ายังไม่เข้าใจความนัยล่ะก็ ยังมีวิธีการแบบตรงๆ เลยเช่นเดียวกัน...

“คุณรับประทานสุนัขหรือ?”

“ชิง ชอง”
“คุณเสียงดังมากนะสำหรับผู้หญิงเอเชีย ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาเงียบมากๆ”
“คนจีนนั้นป่าเถื่อนมาก”
“คนจีนนั้นหยาบคาย”

“ฉันเกลียดหากว่าจะต้องเป็นคนอินเดียในตอนนี้”
ขอให้คุณมีวันที่ดีครับ

ติดตามคุณนิกได้ทาง

ชมรายการ จริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหนกันแน่? ได้ทาง เอสบีเอสออนดีมานด์:






Share
Published 16 August 2018 1:40pm
Updated 17 August 2018 3:23pm
By Nick Bhasin
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Guide


Share this with family and friends