เรียกร้องยกเครื่องกฎย้ายถิ่นฐานออสฯ ก่อนจะกลายเป็น "สังคมแรงงานชั่วคราว"

รายงานฉบับใหม่จากสถาบันแกรทแทนชี้ การยกเครื่องระบบย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียจะแก้ไขหลายปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ

People at Sydney airport in front of an electronic billboard that reads: 'There's no place like home'     SYD

Net migration to Australia plummeted during COVID-19, as borders snapped shut. Credit: James D. Morgan/Getty Images for Sydney Airport

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • รานงานฉบับใหม่จากสถาบันแกรทแทน ได้เรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การย้ายถิ่นฐานหลายประการ ชี้ระบบล้าหลัง
  • สถาบันฯ ต้องการให้ผู้ย้ายถิ่นทุกคนที่รายได้มากกว่า 85,000 ดอลลาร์ต่อปี มีสิทธิ์ได้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียอย่างถาวร
  • กำลังจะมีการเสนอรายงานดังกล่าวเข้าสู่การไต่สวนโดยรัฐสภา เกี่ยวกับระบบการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียในเร็ว ๆ นี้
มีรายงานฉบับใหม่จากสถาบันแกรทแทน (Grattan Institute) ที่ระบุว่าระบบการย้ายถิ่นฐานในออสเตรเลียจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพื่อหยุดยั้งประเทศนี้จากการกลายเป็น “สังคมแรงงานชั่วคราว” และการใช้ประโยชน์จากแรงงานมีทักษะจากต่างชาติอย่างสุรุ่ยสุร่าย

สถาบันแกรทแทนเตือนว่า ข้อกำหนดเรื่องวีซ่าที่ยุ่งยากกำลังทำให้ออสเตรเลียไม่เป็นที่น่าดึงดูดสำหรับเยาวชนที่มีความสามารถซึ่งพร้อมที่จะย้ายไปได้ทุกที่ ขณะที่การพึ่งพาแรงงานทักษะต่ำมากจนเกินไปก็กำลังกดราคาค่าจ้าง และนำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบ

รายงานฉบับนี้ ซึ่งกำลังจะได้รับการเสนอสู่การไต่สวนของรัฐสภาเกี่ยวกับระบบการย้ายถิ่นฐานฐานของออสเตรเลีย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐมุ่งเน้นไปยังกลุ่มคนในระดับโลกที่ “ยอดเยี่ยมและสดใสที่สุด” เพื่อปรับปรุงการเติบโตที่เชื่องช้า และทำให้เส้นทางสู่ระบบเศรษฐกิจที่ปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ของออสเตรเลียนั้นราบรื่น

ซึ่งรวมถึงการยกเลิกโครงการที่เอื้อให้กับผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีอายุมาก และปรับปรุงระบบต่าง ๆ ซึ่งรายงานดังกล่าวระบุว่าปิดกั้นผู้ย้ายถิ่นฐานรายได้สูงจากการอาศัยอยู่ในออสเตรเลียระยะยาว
เบรนแดน โคทส์ (Brendan Coates) ผู้อำนวยการโครงการนโยบายระบบเศรษฐกิจจากสถาบันแกรทแทน กล่าวว่า กฎเกณฑ์ของออสเตรเลียที่ “ซับซ้อนและล้าสมัย” ตามไม่ทันกับระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และกำลังทำให้การดำเนินเอกสารต่าง ๆ ด้านวีซ่านั้นล่าช้า

“ระบบนี้ไม่สมเหตุสมผลในโลกปัจจุบัน เราไม่ควรมุ่งเป้าไปที่วีซ่าถาวรที่ให้คนอยู่ได้นานเป็นสิบปี ในภาวะขาดแคลนแรงงานซึ่งเกิดขึ้นเพียง 1-2 ปี” คุณโคทส์ กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

“มีอาชีพเกิดใหม่จำนวนมากที่เราต้องการสร้างทักษะ เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งบ่อยครั้งไม่ได้รับการจำแนกเป็นอาชีพโดยสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย เพราะว่างานนี้ใหม่เกินไป”

'ระบบที่เรียบง่ายกว่ามาก’

ประเด็นสำคัญที่สถาบันแกรทแทนได้แนะนำให้กับรัฐบาล คือการเปลี่ยนแปลงสำคัญในส่วนของวีซ่าแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์

ปัจจุบัน วีซ่าย้ายถิ่นฐานช่วยคราวสำหรับแรงงานมีทักษะนั้น มีให้เฉพาะคนทำงานในบางอาชีพเท่านั้น โดยกำหนดให้ต้องมีรายได้อย่างน้อย 53,900 ดอลลาร์ต่อปี

สถาบันแกรทแทนกำลังแนะนำการเปิดโอกาสให้นายจ้างสปอนเซอร์ผู้ย้ายถิ่นฐานให้อยู่ออสเตรเลียอย่างถาวรหากมีรายได้มากกว่า 85,000 ดอลลาร์ต่อปี และสปอนเซอร์ให้อาศัยอยู่ชั่วคราวหากมีรายได้มากกว่า 70,000 ดอลลาร์ต่อปี

“การเปลี่ยนไปสู่โลกที่เราเลือกผู้ย้ายถิ่นมีทักษะบนพื้นฐานของรายได้ที่พวกเขาได้รับ จะทำให้ระบบง่ายขึ้นมาก ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นได้ดีขึ้นว่าทักษะของผู้คนมีค่าหรือไม่” คุณโคทส์กล่าว
Copy of 2 LINE TEMPLATE GRAPHS AND STATS (3).png
กราฟแสดงการลดลงของการย้ายถิ่นฐานสุทธิในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
คุณโคทส์กล่าวอีกว่า ระบบดังกล่าว ซึ่งสถาบันแกรทแทนประมาณว่าจะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศถึง 125,000 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 30 ปี จะสร้างความมั่นใจให้กับทั้งสองฝ่าย ซึ่งนายจ้างก็จะมั่นใจว่าเงินเดือนปีละ 85,000 ดอลลาร์จะรักษาคนทำงานที่พวกเขาต้องการไว้ได้ ส่วนลูกจ้างก็จะมีเส้นทางที่ชัดเจนในการเป็นผู้อยู่อาศัยในออสเตรเลียอย่างถาวร

รายงานดังกล่าวยังพบอีกว่า ผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีรายได้ปีละ 70,000 ดอลลาร์เมื่อเดินทางมาถึง เป็นไปได้ที่จะได้รับการขึ้นเงินเดือนในระดับสูงเมื่อเวลาผ่านไปส่วนผู้ที่มีรายได้น้อยกว่านั้นมีแนวโน้มที่จะติดอยู่ในภาคส่วนงานที่มีทักษะต่ำ มีรายได้น้อย ซึ่งพบการเอารัดเอาเปรียบได้มากกว่า

ขณะที่การค้นพบในเรื่องของวีซ่าแบบใช้แต้มทดสอบ ซึ่งพบว่า “ได้ผลเป็นวงกว้าง” รายงานดังกล่าวยังเรียกร้องให้มีการเน้นย้ำในเรื่องทักษะของผู้สมัครรองในแบบคำร้องวีซ่าด้วย เช่น คู่สมรส และสมาชิกครอบครัว ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่รายงานดังกล่าวระบุว่าคิดเป็น “ราว ๆ ครึ่งหนึ่ง” ของการอนุมัติวีซ่าทักษะถาวรในแต่ละปี

“มีผู้ยื่นขอวีซ่ามากเกินกว่าจำนวนวีซ่าที่เราเสนอให้ เราควรให้ความสำคัญกับคนโสดที่มีทักษะสูง หรือคู่ครองซึ่งมีทักษะสูงด้วยกันทั้งคู่” คุณโคทส์ กล่าว

รายงานดังกล่าวยังแนะนำว่า ควรยกเลิกโครงการนวัตกรรมธุรกิจและการลงทุน (The Business Innovation and Investment Program) ด้วยเช่นกัน โดยระบุว่าผู้รับโครงการนั้นส่วนใหญ่มีอายุมาก และมีรายได้น้อยกว่าผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

'ความเชื่อมั่นที่ถูกทำลาย'

สถาบันแกรทแทน ยังได้เตือนอีกว่า การขยายอัตรารับผู้ย้ายถิ่นฐานทักษะต่ำเพื่อดึงคนทำงานมาเติมช่องว่างที่ขาดแคลนจะกดค่าจ้างสำหรับชาวออสเตรเลียที่มีรายได้น้อยให้ต่ำลงไป ทำให้ปัญกาการเอารัดเอาเปรียบในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการเอาเปรียบลูกจ้างมีความล้ำลึกลงไปมากขึ้น และทำลายความเชื่อมั่นของสาธารณะในโครงสร้างการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลีย

พรรคแรงงานได้ให้คำมั่นว่า จะทำให้มีพยาบาลวิชาชีพในสถานดูแลผู้สูงอายุทุกแห่งในทุก ๆ ชั่วโมงของสัปดาห์ภายในกลางปี 2023 และคาดหวังว่าผู้ย้ายถิ่นจะมีบทบาทสำคัญในการทำให้บรรลุเป้าหมายนี้
รายงานดังกล่าวโดยสถาบันแกรทแทนยอมรับว่า งานด้านการดูแลอาจจำเป็นต้องได้รับการรับผู้ย้ายถิ่นทีมีทักษะน้อยเข้ามาในทันที แต่ก็ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มค่าจ้างให้กับคนทำงานในภาคส่วนนี้ด้วย ซึ่งตามรายงานระบุว่าเป็นเพียงวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนคนทางานในระยะยาว

“คุณอาจต้องการ (เพิ่มการย้ายถิ่นฐาน) ในระยะสั้น แต่มันมีความเสี่ยง คุณจะเพิ่มความเสี่ยงของการที่คนทำงานเหล่านั้นถูกเอารัดเอาเปรียบ คุณเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการกีดกันค่าจ้างในหมู่คนทำงานในธุรกิจการดูแลของออสเตรเลีย ซึ่งส่วนมากมีคนทำงานเป็นผู้หญิง และได้รับค่าจ้างต่ำ”

“และคุณจะพาเราไปไกลในเส้นทางที่ทำให้เรากลายเป็นสังคมแรงงานชั่วคราว” คุณโคทส์ กล่าว


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 15 December 2022 4:20pm
By Finn McHugh
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends