ผู้คนจำนวนยี่สิบสองรายถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยคาดว่าถูกพิษของแมงกะพรุนอีเรอคานด์จี (Irukandji) ในรัฐควีนส์แลนด์ในฤดูกาลนี้
ซึ่งนับว่ามากกว่าสองเท่าตัวของจำนวนเฉลี่ยในระยะเวลา 10 ปี หากอ้างอิงจากบริการให้คำแนะนำสัตว์กัดต่อยทางน้ำแห่งออสเตรเลีย (Australian Marine Stinger Advisory Service)
โดยทั่วๆ ไปแล้วจะพบแมงกะพรุนที่อาจเป็นอันตรายถึงตายดังกล่าวเป็นจำนวนมากในท้องน้ำเขตร้อนทางตอนเหนือของรัฐดังกล่าว แต่กระแสน้ำอุ่นจากฝนตกหนักก็ดึงดูดให้พวกมันมายังทางตอนใต้มากกว่าเดิม
ผู้อำนวยการของ AMSAS นางลิซา เกอร์ชวิน กล่าวว่า ปีนี้ “ดูทรงแล้วเป็นปีที่ท่าทางจะแย่”
เธอกล่าวว่า “คุณไม่สามารถบอกได้ว่ามีแหล่งชุกชุมอยู่ที่ไหนในปีนี้ -- พวกมันอยู่ทั้งตอนบนและตอนล่างของชายฝั่ง”
“มีการกระจุกตัวเป็นกลุ่มๆ บริเวณเกาะเฟรเซอร์ มีการกระจุกตัวที่หมู่เกาะวิตซันเดย์ มีการกระจุกตัวในภูมิภาคของเมืองแคนส์และก็มีคนที่โดนต่อยอยู่ในระหว่างนั้น”
เจ้าหน้าที่บริเวณชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ยังได้เตือนผู้ลงว่ายน้ำให้ระมัดระวังแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงิน (bluebottle jellyfish) ซึ่งเกยฝั่งเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ทั่วรัฐควีนส์แลนด์ แต่เกือบทั้งหมดนั้นอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนจำนวน 22,282 รานยที่เข้ารับการรักษาเนื่องจากถูกต่อยโดยแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงินตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง 7 มกราคม เมื่อเทียบกับ 6831 รายในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว
More than 2500 people have been treated for bluebottle stings on the Gold and Sunshine coasts in Queensland. Source: Twitter/@QldAmbulance
เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มกราคม มีผู้รับการรักษาเนื่องจากพิษแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงิน 526 ราย
เหล่านักกู้ชีพเตือนว่าสภาพของแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงินนั้นจะยังดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายวัน
- - - - -
SBS Thai
ซึ่งเป็นเว็บไซต์คำแนะนำด้านสุขภาพที่สนับสนุนโดยรัฐบาลระดับรัฐและสหพันธรัฐของออสเตรเลีย ได้กล่าวว่าผู้ที่ประสบกับ “กลุ่มอาการอีเรอคานด์จี” (Irukandji Syndrome) นั้นจะรู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายของพวกเขาอย่างสาหัสที่สุดโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นบริเวณที่ถูกแมงกะพรุนอีเรอคานด์จีต่อย ปฏิกิริยาต่างๆ นั้นอาจยังไม่เกิดขึ้นเป็นเวลาสามสิบนาทีหลังจากที่ถูกแมงกระพรุนต่อย และจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ และยังได้อธิบายถึงอาการอื่นๆ เช่น อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาการปวดบริเวณหลัง กล้ามเนื้อ หน้าอก และท้อง คลื่นไส้อาเจียน วิตกกังวล เหงื่อแตก ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว มีของเหลวคั่งในช่องปอด เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และสมองบวม ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต
ควรทำอย่างไรหากถูกพิษอีเรอคานด์จีหรือแมงกะพรุนที่รุนแรง
หากมีกลุ่มอาการอีเรอคานด์จี หรือมีปฏิกิริยาต่อพิษแมงกะพรุนชนิดอื่นอย่างรุนแรง ให้โทร 000 เพื่อเรียกรถพยาบาล และเริ่มต้นทำการปฐมพยาบาล:
- ราดน้ำส้มสายชูเป็นปริมาณมากลงบนบริเวณที่ถูกต่อย ซึ่งจะยับยังเซลล์พิษ (nematocytes) ที่ยังไม่ได้ปล่อยพิษไม่ให้ทำงาน หากไม่มีน้ำส้มสายชู ให้ใช้น้ำทะเล
- ใช้ความระมัดระวังในการดึงหนวดแมงกะพรุนออกจากผิวหนัง
- หากบุคคลนั้นหมดสติ ให้ทำการกู้ชีพด้วยการปั๊มหัวใจและผายปอด
หากถูกพิษแมงกะพรุนที่ไม่รุนแรง เช่นแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงิน:
- ล้างบริเวณที่โดนด้วยน้ำทะเลและดึงหนวดแมงกะพรุนออกจากผิวหนัง
- แช่บริเวณที่ถูกพิษ หรือล้างด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลา 20 นาที โดยไม่ให้น้ำลวก แต่ว่าก็ควรจะร้อนที่สุดเท่าที่ผู้นั้นจะสามารถทนได้ หรือประมาณ 45 องศาเซลเซียส หรืออาจทำการอาบน้ำร้อน
- หากไม่มีน้ำร้อน ให้ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อช่วยระงับความเจ็บปวด
- ปรึกษาแพทย์ของท่านหากความเจ็บป่วยยังดำเนินต่อเนื่อง
ไม่ควรใช้น้ำส้มสายชูสำหรับการถูกพิษแมงกะพรุนขวดสีน้ำเงิน เนื่องจากจะไม่ช่วยและอาจทำให้ความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น
จะป้องกันการถูกแมงกะพรุนต่อยได้อย่างไร
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในทะเลซึ่งมีป้ายเตือนเกี่ยวกับแมงกะพรุน
- อย่าแตะต้องแมงกะพรุนไม่ว่าจะในน้ำหรือบนชายหาด
- สวมชุดว่ายน้ำผ้ายืดชนิดคลุมทั้งตัว และรองเท้ากันน้ำ
ท่านอาจว่ายน้ำบริเวณใกล้กับนักกู้ชีพ ซึ่งก็จะสามารถปฐมพยาบาลท่านได้ หรือหากมีอาการรุนแรงก็จะเรียกรถพยาบาลให้กับท่าน
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
ชุมชนไทยมอง พรบ. คู่ชีวิต