วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19
รัฐบาลออสเตรเลีย ได้ให้คำมั่นในการเปิดโอกาสใหประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพทันทีที่วัคซีนผลิตได้สำเร็จ
ตรวจสอบว่าคุณสามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่ และจองนัดหมายเพื่อไปรับการฉีดวัคซีนได้ที่ไหนบ้าง ไปที่เว็บไซต์
หากคุณมีอายุ 40 ปีขึ้นไป คุณมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด หากคุณมีอายุระหว่าง 16 – 39 ปี คุณอาจมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนโควิดได้เช่นกัน ดำเนินการตามขั้นตอนในเว็บไซต์นี้เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ของคุณ
คุณสามารถจองนัดหมายเพื่อไปรับการฉีดวัคซีนกับแพทย์จีพีของคุณ และรับข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนของคุณได้ ที่เว็บไซต์
หากคุณยังไม่ได้รับสิทธิ์ในการรับการฉีดวัคซีน และมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป คุณสามารถขอรับการแจ้งเตือนเมื่อคุณมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนได้
ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี ยังคงไม่ได้รับสิทธิ์ในการรับการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาในออสเตรเลีย
วัคซีนที่ได้รับการแนะนำคืออะไร
กลุ่มที่ปรึกษาทางเทคนิคด้านการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งออสเตรเลีย (ATAGI) ได้กำหนดให้วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ภายใต้เครื่องหมายการค้า “โคเมอร์เนตี (Comirnaty)” เป็นวัคซีนแนะนำสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 16 – 59 ปี
นอกจากนี้ ยังสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ให้กับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 – 59 ปีได้เช่นกัน
COVID-19 vaccine national roll-out strategy Source: Australian Government - Department of Health
ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเกี่ยวกับโควิด-19
ในปี 2020 รัฐบาลออสเตรเลียได้เพิ่มการรับบริการบำบัดทางจิตใจที่ได้รับการชดเชยค่าบริการให้จากเมดิแคร์เป็น 10 ครั้งในแต่ละปี สำหรับผู้เข้ารับการรักษาทุกคนที่มี ของ Better Access to Psychiatrists, Psychologists and General Practitioners ผ่านโครงการ
รัฐบาลออสเตรเลียได้เพิ่มการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตในสถานการณ์โควิด-19 ผ่านช่องทาง เพื่อให้ข้อมูลและแนวทางในการรักษาสุขภาพจิตให้ดี ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา และระหว่างที่ต้องกักกันตนเองเพื่อเฝ้าระวังอาการ
เป็นโครงการที่ดำเนินการโดย Mental Health Australia ที่มุ่งเน้นให้บริการข้อมูลและทรัพยากรต่าง ๆ ด้านสุขภาพจิต สำหรับผู้ที่มีภูมิหลังหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม (CALD) ในรูปแบบที่เข้าถึงได้ทางวัฒนธรรม
หากคุณต้องการบริการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตในภาษาของคุณ โทรหาบริการแปลและล่ามแห่งชาติ (TIS National) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 131 450 หรือไปที่เว็บไซต์ เพื่อขอใช้บริการจากล่าม TIS National ให้บริการแปลและล่ามมากกว่า 100 ภาษา และสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน ด้วยอัตราค่าโทรศัพท์ตามปกติในท้องถิ่น
สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับบริการสุขภาพจิตในออสเตรเลียในภาษาของคุณ
ความเดือดร้อนทางการเงิน (Pandemic Leave Disaster Payment)
หากคุณประสบความเดือดร้อนทางการเงิน ไปที่เว็บไซต์ หรือโทรศัพท์ไปที่สายช่วยเหลือหนี้สินแห่งชาติ (National Debt Helpline) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 007 007
รัฐบาลสหพันธรัฐมีความช่วยเหลือทางการเงินในสถานการณ์ภัยพิบัติ สำหรับจ่ายเป็น ซึ่งจะจ่ายให้กับคนทำงานที่ไม่มีรายได้เนื่องจากต้องกักแยกตนเอง ไปเข้ารับการกักโรค หรือต้องให้การดูแลผู้ที่อาจติดเชื้อไวรัสโควิด-19
กดที่ลิงก์ด้านล่างนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือ Pandemic Leave Disaster Payment ในรัฐและมณฑลต่าง ๆ
ไวรัสโคโรนานี้แพร่กระจายได้อย่างไร และจะป้องกันได้อย่างไร
เชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มสูงที่จะแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งผ่าน:
- การพบปะใกล้ชิดกับบุคคลหนึ่ง ขณะที่บุคคลนั้นอยู่ในระยะสามารถแพร่เชื้อได้ แม้ว่าจะไม่มีอาการปรากฎ
- การพบปะใกล้ชิดกับบุคคลที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ โดยเป็นผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
- สัมผัสสิ่งของหรือพื้นผิวต่างๆ (เช่น ลูกปิดประตู หรือโต๊ะ) ที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่ โดยเป็นเชื้อที่ออกมาจากการไอหรือจามของบุคคลที่ได้รับการยืนยันว่ามีเชื้อ และหลังจากนั้น ใช้มือสัมผัสกับปากหรือใบหน้าของคุณเอง
คุณสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้ ด้วยการรักษาสุขอนามัยของมือ รวมถึงการไอหรือจาม และรักษาระยะห่างจากผู้อื่นเมื่อคุณรู้สึกไม่สบาย ซึ่งเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดจากเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ คุณควรปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้
- รักษาระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1.5 เมตร และรักษากฎความหนาแน่นที่ 1 คน ต่อพื้นที่ 4 ตารางเมตร
- ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร และหลังจากใช้ห้องน้ำเสร็จแล้ว
- ปิดปากและจมูกเมื่อคุณไอหรือจาม ทิ้งกระดาษทิชชูให้เหมาะสม และใช้เจลหรือน้ำยาล้างมือที่มีส่วนผลสมของแอลกอฮอล์
- หากคุณไม่สบาย หลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้อื่น (และอยู่ห่างจากผู้อื่นมากกว่า 1.5 เมตร)
รัฐบาลออสเตรเลียแนะนำให้ผู้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียทุกคนดาวน์โหลดแอป
หากคุณมีอาการ ไปรับการตรวจหาเชื้อ
อาการของเชื้อไวรัสโคโรนาสามารถมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่อาการป่วยเล็กน้อยไปจนถึงอาการปอดบวม และมีอาการคล้ายคลึงกับอาการของหวัดและไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้แก่:
- มีไข้
- มีอาการในระบบทางเดินหายใจ
- ไอ
- เจ็บคอ
- หายใจลำบาก
- อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมไปถึง มีน้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่างกายหรือข้อต่อ คลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่น มีการรับรู้รสชาติที่เปลี่ยนไป ไม่รู้สึกอยากอาหาร และรู้สึกอ่อนเพลีย
หน่วยงานทางการของออสเตรเลียได้พัฒนาที่คุณสามารถใช้จากบ้าน
ยังไม่มีการรักษาใดโดยเฉพาะสำหรับเชื้อไวรัสโคโรนา ยาปฏิชีวนะ หรือแอนตี้ไบโอติก ใช้ไม่ได้ผลกับไวรัสต่างๆ อาการป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาได้โดยการดูแลช่วยเหลือทางการแพทย์
หากคุณมีอาการต่าง ๆ ของไวรัสโคโรนา คุณควรไปรับการตรวจหาเชื้อ
หากคุณต้องการพูดคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับอาการของคุณ โทรศัพท์ไปยัง National Coronavirus Helpline (สายด่วนทั่วประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา) ซึ่งให้บริการ 24 ชั่วโมง 7 วัน ที่หมายเลข 1800 020 080
จะสามารถไปตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาได้ที่ไหนบ้าง
คลิกอ่านที่ลิงก์ด้านล่าง เพื่อค้นหาคลินิกตรวจหาเชื้อในแต่ละรัฐและมณฑล
หากคุณได้รับผลการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา คุณจะต้องกักกันตนเอง
- ไม่ออกไปยังสถานที่สาธารณะ เช่น ที่ทำงาน โรงเรียน ศูนย์การค้า ศูนย์ดูแลเด็ก หรือมหาวิทยาลัย
- ขอให้คนอื่นไปซื้ออาหารและของใช้จำเป็นมาให้คุณ และให้พวกเขาวางของนั้นไว้หน้าประตูบ้านของคุณ
- อย่าให้คนที่มาหาเข้ามาในบ้าน ให้เข้าบ้านได้เพียงแค่คนที่อาศัยอยู่ด้วยกันกับคุณเท่านั้น
ใครมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะป่วยหนัก?
บางคนที่ติดเชื้ออาจไม่ป่วยเลยก็ได้ บางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งพวกเขาจะหายป่วยได้ไม่ยากนัก และบางคนอาจป่วยหนัก และล้มป่วยอย่างรวดเร็ว จากประสบการณ์ก่อนหน้านี้กับเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะป่วยหนักจากการติดเชื้อคือ:
- ชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอเรส สเตรท ที่อายุ 50 ปีหรือมากกว่า ซึ่งมีอาการป่วยเรื้อรังตั้งแต่ 1 อาการขึ้นไป
- ประชาชนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งมีอาการป่วยเรื้อรัง อาการป่วยที่รวมอยู่ในคำจำกัดความของ “อาการทางการแพทย์ที่เรื้อรัง” (Chronic medical conditions) จะมีการปรับเปลี่ยนเมื่อมีหลักฐานปรากฎมากขึ้น
- ประชาชนที่อายุ 70 ปีหรือมากกว่า
- ประชาชนที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ฉันควรสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่
มีการแนะนำหรือบังคับให้สวมใส่หน้ากากอนามัยในบางรัฐและมณฑลของออสเตรเลีย
หากสถานการณ์ในรัฐและมณฑลที่ท่านอาศัยมีการเปลี่ยนแปลง คำแนะนำด้านสุขภาพเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยอาจเปลี่ยนแปลงด้วย มันสำคัญที่จะติดตามข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับคำแนะนำในพื้นที่ท้องถิ่นของคุณ รัฐและมณฑลที่ท่านอาศัยจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
สำหรับคำแนะนำล่าสุดเกี่ยวกับการสวมใส่หน้ากากอนามัย โปรดตรวจสอบข้อมูลจากรัฐบาลรัฐและมณฑลต่าง ๆ
เมื่อคุณสวมใส่หน้ากากอนามัย คุณควรสวมใส่ให้ถูกต้อง
- ล้างหรือทำความสะอาดมือของคุณก่อนสวมใส่และถอดหน้ากากอนามัย
- ทำให้แน่ใจว่า หน้ากากอนามัยปกคลุมทั้งปากและจมูก และมีความกระชับบริเวณใต้คาง ดั้ง และด้านข้างบริเวณใบหน้า
- อย่าจับด้านหน้าของหน้ากากอนามัยขณะถอดหรือสวมใส่หน้ากาก
- อย่าปล่อยหน้ากากให้ห้อยอยู่บริเวณคอ หรืออยู่หลวม ๆ บริเวณใต้จมูก
- อย่าใช้หน้ากากชนิดใช้ครั้งเดียวซ้ำอีกครั้ง สำหรับหน้ากากแบบใช้ซ้ำได้ ซักล้างและตากให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ และเก็บไวัในที่สะอาดและแห้ง
การเดินทางเข้า-ออกออสเตรเลีย หรือภายในประเทศ
รัฐและมณฑลต่างๆ สามารถออกข้อบังคับของตนได้ รวมไปถึงการปิดพรมแดนระหว่างรัฐ
การเก็บข้อมูลแบบภาคบังคับ
ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ มีการเก็บข้อมูลแบบภาคบังคับในการเดินทางด้วยเครื่องบินภายในประเทศ เพื่อช่วยให้รัฐและมณฑลต่าง ๆ ในการติดตามเส้นทางการแพร่เชื้อ โดยจะมีการเก็บข้อมูลชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ รวมถึงรัฐและมณฑลที่ผู้เดินทางอาศัย
หลักปฏิบัติของระบบขนส่งสาธารณะ
ระบบขนส่งสาธารณะอยู่ในความรับผิดชอบของในแต่ละรัฐและมณฑล โดยคณะรัฐบาลแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของผู้โดยสาร และพนักงานบนโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งรวมถึงการไม่เดินทางหากรู้สึกไม่สบาย รักษาระยะห่างระหว่างพนักงานขับรถและผู้โดยสารคนอื่น ๆ และหลีกเลี่ยงการหยิบจับหรือใช้เงินสด
การเดินทางระหว่างประเทศ
มีมาตรการชั่วคราวในการกำหนดจำนวนผู้โดยสารสูงสุดที่สามารถเดินทางมายังท่าอากาศยานในออสเตรเลียจากต่างประเทศ ซึ่งได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอจากรัฐบาลออสเตรเลีย
ข้อกำหนดในการกักโรคและการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนานั้น มีการจัดการและบังคับใช้โดยรัฐบาลของรัฐและมณฑลต่าง ๆ
- รัฐนิวเซาท์เวลส์ (NSW) |
- รัฐวิกตอเรีย (VIC) | |
- มณฑลนครหลวงออสเตรเลีย (ACT) |
- มณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (NT) |
- รัฐควีนส์แลนด์ (QLD) |
- รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (SA) |
- รัฐแทสเมเนีย (TAS) |
- รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีน (WA) |
หากคุณต้องการเดินทางออกจากออสเตรเลีย คุณอาจสามารถสมัครทางออนไลน์เพื่อขอยกเว้นให้เดินทางได้ หากกรณีของคุณจัดอยู่ในประเภทต่างๆ ต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง
- การเดินทางของคุณเป็นส่วนหนึ่งของการรับมือกับการระบาดของเชื้อโควิด-19 รวมทั้งการไปให้ความช่วยเหลือ
- การเดินทางของคุณจำเป็นในการดำเนินอุตสาหกรรมและธุรกิจที่จำเป็น (รวมทั้งอุตสาหกรรมการส่งออกและนำเข้า)
- คุณกำลังเดินทางไปรับการรักษาทางการแพทย์ที่เร่งด่วน ซึ่งไม่สามารถทำได้ในออสเตรเลีย
- คุณกำลังเดินทางไปเพื่อจัดการธุระส่วนตัวที่เร่งด่วนและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
- มีเหตุผลที่น่าเห็นอกเห็นใจหรือเหตุผลด้านมนุษยธรรม
- การเดินทางของคุณไปเพื่อประโยชน์ของชาติ
ข้อมูลจากรัฐบาลออสเตรเลีย
- ข้อมูลการจัดการกับไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลออสเตรเลีย
- ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาเป็นภาษาอังกฤษ ไปที่เว็บไซต์หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐบาลออสเตรเลีย
- ข้อมูลสำหรับชุมชนในออสเตรเลียเป็นภาษาของคุณ จากหน่วยงานมหาไทย (Department of Home Affairs)
ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร โปรดตรวจสอบมาตรการจำกัดการรวมกลุ่มในรัฐและมณฑลที่ท่านอาศัย
หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080
ติดตามข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาเป็นภาษาต่าง ๆ 63 ภาษา ที่เว็บไซต์
ตรวจสอบแนวทางที่เกี่ยวข้องในรัฐและมณฑลของคุณที่นี่: รัฐนิวเซาท์เวลส์ (), รัฐวิกตอเรีย (), รัฐควีนส์แลนด์ (, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (), รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (, มณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (), มณฑลนครหลวงออสเตรเลีย (), รัฐแทสเมเนีย ()
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่