ออสฯ จองวัคซีนโควิดจากอังกฤษ วิจัยสำเร็จฉีดฟรีทุกคน

ความหวังมีวัคซีนต้านโควิดเริ่มชัด รัฐบาลออสฯ ลงนามข้อตกลงจองสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนไวรัสโคโรนา ม.อ็อกซ์ฟอร์ด ของอังกฤษก่อนใคร ได้ผลเมื่อไหร่ชาวออสซีได้ฉีดฟรี

Samples from coronavirus vaccine trials are handled inside the Oxford Vaccine Group laboratory in Oxford, England, June 25, 2020.

Samples from coronavirus vaccine trials are handled inside the Oxford Vaccine Group laboratory in Oxford, England Source: AAP

ชาวออสเตรเลียทุกคนจะได้รับวัคซีนต่อต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 จากบริษัทในสหราชอาณาจักรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากวัคซีนดังกล่าวประสบความสำเร็จและมีความปลอดภัย ภายใต้การลงนามข้อตกลงระหว่างออสเตรเลียและบริษัทยาผู้ร่วมวิจัยวัคซีนดังกล่าว โดยรัฐบาลภายใต้การนำของ นายสกอตต์ มอร์ริสัน

นายสกอตต์​ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวว่า ได้มีการลงนามในข้อตกลงระหว่าง บริษัท แอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) บริษัทเวชภัณฑ์ยาสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ซึ่งกำลังทำการทดลองวัคซีนต่อต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขั้นที่ 3 ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

วัคซีนของอ็อกซ์ฟอร์ด เป็นหนึ่งในวัคซีนที่มีความล้ำหน้า และมีความหวังมากที่สุดในโลก ภายใต้ข้อตกลงนี้ เราได้รักษาสิทธิ์ในการเข้าถึงวัคซีนนี้ก่อนใครสำหรับชาวออสเตรเลียทุกคน นายมอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียกล่าว

“หากวัคซีนดังกล่าวประสบความสำเร็จ เรา (ออสเตรเลีย) จะสามารถผลิตและแจกจ่ายวัคซีนนี้ได้ทันทีภายในสายการผลิตของเรา และจะไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับชาวออสเตรเลีย 25 ล้านคน ในการรับวัคซีนนี้”

LISTEN TO
Dangers of fake COVID-19 cures from the Dark Web image

ระวังภัยเว็บมืดขายของหลอกลวงรักษาโควิด-19

SBS Thai

07/05/202006:18


นายมอร์ริสัน ยอมรับว่า ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าวัคซีนดังกล่าวนั้นจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น รัฐบาลจะยังคงเจรจากับผู้วิจัยและพัฒนารายอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็ยังสนับสนุนนักวิจัยของออสเตรเลียด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังได้แสดงคำมั่นในการเปิดโอกาสให้ประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้าถึงวัคซีนได้ก่อนเป็นชาติแรก ๆ

ทั้งนี้ ข้อตกลงระหว่างออสเตรเลีย และบริษัท แอสตร้าเซเนก้า รวมถึงสัญญาซื้อกระบอกและเข็มฉีดยากับ บริษัท เบคตัน ดิคคินสัน (Becton Dickinson) เป็นนโยบายแรกที่มีการประกาศ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการรักษาและวัคซีนเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19 National Vaccine and Treatment Strategy)

ส่วนรายละเอียดล่าสุดในข้อตกลงดังกล่าวนั้น ได้รวมถึงการจัดจำหน่าย ระยะเวลา และราคาของวัคซีน ขณะที่ยุทธศาสตร์ด้านวัคซีนนั้น คาดการณ์ตัวเลขราคาไว้ที่ราวหลายพันล้านตอลลาร์

การวิจัยและพัฒนาวัคซีนของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดนั้น ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วทั้งในสหราชอาณาจักร บราซิล และแอฟริกาใต้ และกำลังจะมีกำหนดเริ่มต้นขึ้นในสหรัฐ ฯ ในช่วงต้นปี 2021

ที่ปรึกษาทางการแพทย์ของออสเตรเลียได้ทราบว่า ผู้วิจัยและพัฒนาวัคซีน 167 รายนั้น กำลังอยู่ในระยะการทดลองขั้นพรีคลินิก (pre-clinical trial) และอยู่ในขั้นคลินิก (clinical trial) ซึ่งรวมถึง 29 รายที่กำลังอยู่ในขั้นทดลองในมนุษย์

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในออสเตรเลีย ซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์เบรนแดน เมอร์ฟีย์ เลขาธิการหน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลีย กำลังตรวจสอบทุกทางเลือก เพื่อทำให้แน่ใจว่า ออสเตรเลียไม่หวังพึ่งวัคซีนจากผู้ทดลองและพัฒนาวัคซีนรายเดียว

นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังได้อยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มเสาหลักด้านทรัพยากรทางวัคซีน (COVAX) ซึ่งนำโดยองค์กรพันธมิตรโลกเพื่อพัฒนาวัคซีน (GAVI) ซึ่งมุ่งเป้าเป็นแหล่งทรัพยากรโลก ในการผลักดันการวิจัยและการจัดจำหน่ายวัคซีน โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้ยื่นความจำนงแสดงความสนใจแบบไม่มีข้อผูกมัด (non-binding expression of interest) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรดังกล่าว

บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซีเอสแอล (CSL) กล่าวว่า ขณะที่การทดลองและพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์นั้นยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ทางบริษัทดังกล่าวระบุว่า ได้มีการเจรจากับ บริษัท แอสตร้าเซเนก้า และรัฐบาลสหพันธรัฐ ในการผลิตวัคซีนของทางบริษัท ซึ่งร่วมพัฒนากับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในท้องถิ่น

“เรากำลังประเมินตัวเลือกที่มีความยั่งยืน ตั้งแต่การบรรจุวัคซีนที่นำเข้ามาในออสเตรเลีย ไปจนถึงการผลิตวัคซีนภายใต้ลิขสิทธิ์ของผู้วิจัยและพัฒนารายต่าง ๆ ” บริษัท ซีเอสแอล ระบุในแถลงการณ์

“เรายังคงต้องทำงานมากขึ้นในส่วนของข้อมูลเชิงเทคนิค รวมถึงดำเนินการเจรจาพูดคุยต่าง ๆ ต่อไป”

ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตมหานครของเมลเบิร์น (Metropolitan Melbourne) อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ระดับ 4 และจะต้องปฏิบัติตามการห้ามออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น.-5.00 น.

ระหว่างเวลา 5.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 20.00 น. ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อออกกำลังกาย เพื่อไปซื้อของจำเป็นและไปรับบริการที่จำเป็น ไปทำงาน ไปรับบริการด้านสุขภาพ หรือไปให้การดูแลญาติที่ป่วยหรือผู้สูงอายุเท่านั้น

รายละเอียดข้อจำกัดทั้งหมดสามารถดูได้  ชาวรัฐวิกตอเรียทุกคนจะต้องสวมหน้ากากหรือผ้าปกคลุมจมูกและปากเมื่อออกจากเคหสถาน ไม่ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 19 August 2020 4:30pm
Updated 19 August 2020 4:49pm
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends