ไม่กี่วันนี้ เด็กจำนวนมากในออสเตรเลียจะกลับไปโรงเรียนอีกครั้ง เด็กๆ จะเกิดประสบการณ์ที่เรียกว่าความรู้สึกสับสนปนเปมื่อต้องกลับไปโรงเรียนหลังปิดเทอม
ความรู้สึกเมื่อต้องกลับไปโรงเรียน อาจมีทั้งความตื่นเต้นอย่างมากและกระตือรือร้น ไปจนถึงความกังวล ความกลัว ความกระวนกระวาย ความรู้สึกตื่นเต้นจนท้องไส้ปั่นป่วน หรือรู้สึกกังวลทั่วไปในเกี่ยวกับการกลับไปโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องธรรมดา
ความกังวลใจหลักของเด็กก่อนวัยเรียนคือรู้สึกว่า ตัวเองถูกเพิกเฉย ถูกล้อหรือถูกแกล้ง หรือการบอกลาพ่อแม่เมื่อไปส่งที่โรงเรียน ในขณะที่ความกังวลใจของเด็กวัยเรียนคือการสอบ (27%) การไม่อยากกลับไปโรงเรียน (13%) การมีปัญหากับครู (14%) บางคนอาจรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว
ความกังวลใจหลักของวัยรุ่นคือการรับมือกับความเครียดี (44.7%) ปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนหรือการเรียน (34.3%) และปัญหาด้านสุขภาพจิต (33.2%)
การไม่คิดถึงการกลับไปโรงเรียนเลยเป็นทางหนึ่งที่จะสนุกได้จนถึงสัปดาห์สุดท้ายของการปิดเทอม แต่สำหรับบางคน นี่อาจทำให้การกลับไปเรียนยากขึ้น
การสนับสนุนให้พ่อแม่ผู้ปกครอง เด็กๆ และวัยรุ่น จัดการกับความท้าทายในการกลับไปโรงเรียนได้ อาจช่วยลดประสบการณ์แง่ลบเกี่ยวกับโรงเรียนได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ตั้งแบบแผนกิจวัตรการกลับไปเรียน
สร้างโครงสร้างเพื่อรองรับการกลับไปโรงเรียนด้วยแบบแผนกิจวัตรเกี่ยวกับการเรียนและโรงเรียน ให้ใช้ความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดในการสนับสนุนเด็กๆ เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงหรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
จัดตั้งแบบแผนที่ทำได้จริงเพื่อเตรียมความพร้อม ซึ่งควรรวมเรื่องต่อไปนี้:
- อะไรที่ต้องทำให้เสร็จในแต่ละวันเพื่อไปโรงเรียน เช่น การตื่นนอน การรับประทานอาหารเช้า และการแต่งตัว
- เด็กๆ ต้องการความช่วยเหลืออะไรจากคุณบ้าง เพื่อให้พร้อมไปโรงเรียนได้
- พวกเขาสามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้บ้าง (ตั้งแบบแผนเหล่านี้ขึ้นมาด้วยกัน)
ในการกลับไปเรียนสัปดาห์แรก สามารถก่อให้เกิดความปั่นป่วนได้ จากการที่ยังรู้สึกว่าอยู่ในช่วงวันหยุดอยู่ เพราะฉะนั้นอย่าลืมสุขนิสัยที่ดีในการนอนหลับ (ประมาณ 9-11 ชั่วโมง สำหรับเด็กอายุ 5-15 ปี และ 8-10 ชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 14 – 17 ปี) ออกกำลังกาย (ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับกิจกรรมที่เป็นการออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก (vigorous) 3 ครั้งต่อสัปดาห์) และใส่ใจอาหารที่รับประทาน
การเข้านอนและตื่นนอนที่มีเวลาเป็นกิจวัตรสามารถช่วยได้เช่นกัน องค์กรเพื่อการนอนหลับแห่งชาติ (The National Sleep Foundation) แนะนำว่าให้เริ่มต้นที่ 2 สัปดาห์ก่อนเริ่มเรียนวันแรก เพื่อสร้างนิสัยกิจวัตรการนอนหลับ แต่การเริ่มต้นทำหนึ่งสัปดาห์ล่วงหน้าจะช่วยให้เด็กของคุณไปสู่จุดหมายอะไรที่ลูกๆ ต้องการให้คุณช่วย และอะไรที่พวกเขาสามารถทได้เอง ภาพจาก shutterstock.com
จะว่าไปแล้ว ก็ดูเหมือนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองต้องปรับตัวเพื่อการเปิดเทอมไปพร้อมกับลูกๆ ด้วยเช่นกัน ให้พิจารณาปรับตารางเวลาของคุณเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงราบรื่นขึ้น ถ้าคุณไม่สามารถทำได้ในตอนเช้า ให้เตรียมการในช่วงเย็น เพื่อให้คุณมีเวลามากพอตามที่ลูกต้องการ โดยเฉพาะในระหว่างสัปดาห์แรก
2. ให้พูดคุยเกี่ยวกับการกลับไปเรียน
เด็กส่วนใหญ่ต้องรับมือกับความตึงเครียดหรือความวิตกกังวลในระดับหนึ่งเกี่ยวกับโรงเรียน พวกเขามีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ในโรงเรียนของตน ดังนั้น ให้คุณค้นหาว่าสิ่งที่สร้างความกังวลนั้นคืออะไรจากการสอบถามลูกๆ โดยตรง
คุณสามารถให้การสนับสนุนแก่ลูกๆ ได้โดยทำให้พวกเขาเข้าใจว่า ประสบการณ์ที่มีความกังวลและความเครียดกลายเป็นเรื่องปกติ สร้างความมั่นใจให้กับลูกๆ ว่าความรู้สึกที่พวกเขามีนั้นเป็นเรื่องธรรมดา และพวกเขาจะเอาชนะมันได้ เมื่อคุ้นชินกับการไปโรงเรียนแล้ว ความกังวลและความกล้าหาญสามารถไปด้วยกันได้
คุณสามารถลองทำสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้เพื่อช่วยเหลือลูกๆ ได้ โดยขึ้นอยู่กับช่วงอายุของเด็ก
- วัยก่อนไปโรงเรียน – ให้เขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับการไปสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียน และกิจวัตรประจำวันให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ล่วงหน้า
- วัยประถมศึกษา – สร้างระบบเพื่อนคู่หู โดยเพื่อนหรือเด็กที่โตกว่าจะเจอลูกของคุณที่ประตูโรงเรียน หรือถ้ามีเพื่อนบ้าน เด็กๆ ก็สามารถไปโรงเรียนพร้อมกันได้
- เด็กมัธยมศึกษา – สร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพด้วยกันเป็นครอบครัว สนับสนุนซึ่งกันและกันในการใช้เทคโนโลยี การนอนหลับ และการบ้าน
3. ช่วยสร้างความรู้สึกว่าลูกๆ เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน
ความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน (belonging) อาจส่งผลต่อความสำเร็จด้านวิชาการและความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียน ผู้ปกครองสามารถช่วยให้เกิดทัศนคติเชิงบวกต่อโรงเรียนได้ โดยพูดถึงโรงเรียนในแง่ที่ดี รวมไปถึงให้ความสนใจต่อชีวิตที่โรงเรียนของลูกๆ และการบ้าน และพร้อมให้การสนับสนุนแก่ลูกๆ ทั้งด้านวิชาการและด้านสังคมใส่ใจเรื่องการบ้านของลูกๆ ภาพจาก shutterstock.com
ในการสำรวจโครงการหนึ่ง ผู้ปกครองกว่าครึ่งกล่าวว่า การบ้านเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ลูกๆ เกิดความเครียด เมื่อผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำการบ้านของลูกมากขึ้น พวกเขาจะสามารถช่วยเหลือเด็กๆ ให้ก้าวข้ามความท้าทายนี้ได้ดีขึ้น
4. มองหาสัญญาณของความเครียด
จากการวิจัยชี้ว่าผู้ปกครองอาจมองไม่เห็นความเครียดและความวิตกกังวลของลูกๆ แต่ความจริงแล้ว ผู้ปกครองสามารถมองเห็นความตึงเครียดในลูกของพวกเขา ได้ดังนี้ (ขึ้นอยู่กับอายุ):
- ติดพ่อแม่มากกว่าปกติหรือพยายามหลบหนีออกจากห้องเรียน
- ดูกระสับกระส่ายและเหลาะแหละ หรือร้องไห้
- แสดงความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น ผ่านการต่อรอง และขอข้อตกลง
- พยายามที่จะหาเหตุให้ไม่ต้องไปโรงเรียน
- กลับไปดูดนิ้ว พูดจาแบบเด็กทารก หรืออาจจะติดตุ๊กตาตัวโปรดหรือของเล่นชิ้นโปรดมากขึ้น (สำหรับนักเรียนที่อายุน้อยๆ)
ถ้าพฤติกรรมเหล่านี้ยังคงมีอยู่ถึงราวๆ ครึ่งเทอม ให้ลองคุยกับครูประจำชั้น หรือผู้ประสานงานของโรงเรียนด้านสวัสดิภาพนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ร่วมกันหากลยุทธ์ที่จะช่วยเหลือลูกๆ เพราะอาจจะมีบางอย่างเกิดขึ้นมากกว่าความกระวนกระวายเกี่ยวกับโรงเรียนตามปกติ เช่นอาจมีปัญหาของการถูกกลั่นแกล้ง
5. ส่งเสริมให้เด็กๆ ถามถึงสิ่งที่พวกเขาสงสัย
ส่งเสริมให้เด็กและวัยรุ่นตั้งคำถามเกี่ยวกับการเรียนในเทอมที่จะเปิดเทอม จะมีอะไรที่เหมือนเดิม? จะมีอะไรที่แตกต่างไป?
โรงเรียนส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลของช่วงเปลี่ยนผ่าน ถ้าโรงเรียนไม่ได้ข้อมูลเหล่านี้ อาจเป็นการดีที่จะติดต่อโรงเรียนเพื่อดูว่าโรงเรียนจะสามารถให้ข้อมูลใดได้บ้าง
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ให้ลูกของคุณทราบว่าไม่มีเกินขีดจำกัดที่จะคุยกับคุณได้ จัดเวลาสำหรับการพูดคุยกันตลอดภาคเรียน มันสามารถช่วยลดความกระวนกระวายในการกลับไปโรงเรียนได้
คริสติน โกรเว (Christine Grové) เป็นนักจิตวิทยาด้านการศึกษาและพัฒนาการ และเป็นอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยโมนาช
เคลลี-แอน อัลเลน (Kelly-Ann Allen)เป็นนักจิตวิทยาด้านการศึกษาและพัฒนาการ และเป็นอาจารย์อาวุโส ของมหาวิทยาลัยโมนาช
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
อัจฉริยะสร้างได้:คนไทยในออสเตรเลียที่จบป.เอกด้วยอายุ 22 ปี
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
เครื่องบินดับไฟป่าตกในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จนท.เสียชีวิตยกลำ