ทางการมาเลเซียระบุว่า เด็กหญิงมุสลิมอายุ 11 ปี ซึ่งแต่งงานกับนักธุรกิจชายชาวมาเลเซียอายุ 41 ปี ได้กลับไปยังประเทศไทยแล้ว หลังหลายฝ่ายออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง
ชาวมุสลิมในมาเลเซียที่อายุต่ำกว่า 16 ปีนั้น ได้รับอนุญาตให้แต่งงานได้โดยศาลอิสลาม แต่หลังจากที่ข่าวการแต่งงานกับเด็กหญิงมุสลิมโดยชายคนดังกล่าวได้แพร่ออกไปในโซเชียลมีเดีย จึงได้จุดกระแสในการล้มเลิกการแต่งงานในครั้งนี้
นายสุรพร พร้อมมูล ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า พิธีแต่งงานเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยเชื่อว่าเป็นภรรยาคนที่ 3 ของชายชาวมาเลเซียที่ได้แต่งงานกับเธอ เด็กหญิงคนดังกล่าวได้กลับไปยังประเทศไทย หลังจากได้รับแรงกดดันอย่างมากจากสื่อของมาเลเซีย
ล่าสุด นายสุรพรระบุว่า เด็กหญิงคนดังกล่าวกำลังได้รับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต หลังจากได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เขาระบุอีกว่า การแต่งงานนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากกฎหมายพลเมืองของไทยซึ่งมีพุทธศาสนิกชนเป็นส่วนใหญ่ แต่ทว่าเกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนโดยคณะกรรมการอิสลามในจังหวัดนราธิวาส และความยินยิมของพ่อแม่ของฝ่ายเด็กหญิง
“เราไม่สามารทำอะไรได้ (ในการยกเลิกการแต่งงาน) เนื่องจากการแต่งงานเกิดขึ้นภายใต้กฎของศาสนา” นายสุรพรระบุ
ทั้งนี้ นักธุรกิจชายคนดังกล่าวอาจได้รับโทษจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน หากพบว่าไม่ได้รับอนุญาตให้มีการแต่งงานจากทางมาเลเซีย
เด็กหญิงคนดังกล่าวนั้นเกิดที่ประเทศไทยในครอบครัวที่ใช้แรงงานในสวนยางพาราขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง โดยนายสุรพรกล่าวเสริมว่า เธอพูดภาษาไทยไม่คล่อง
จากสถิติล่าสุด มีเด็กหญิงอายุน้อยกว่า 15 ปี ราว 16,000 คน ที่มีความหลากหลายทางเขื้อชาติ และอยู่ในหมู่ชาวมุสลิมมาเลเซียซึ่งเป็นส่วนมากที่แต่งงานแล้ว
แต่นางฮีเธอร์ บาร์ (Heather Barr) นักวิจัยจากผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชน (Human Right Watch) ระบุว่า หากนับรวมเด็กๆ ที่ถูกแต่งงานก่อนที่มีอายุ 18 ปีนั้น ตัวเลขดังกล่าวอาจสูงมาก
จากเสียงเรียกร้องในเรื่องดังกล่าว ทำให้รัฐมนตรีด้านสตรีและการพัฒนาครอบครัวของมาเลเซียออกมาให้น้ำหนักในประเด็นดังกล่าวว่า ประเทศมาเลเซีย “ต่อต้านการบังคับเด็กแต่งงานอย่างชัดเจน” และจะดำเนินการเพื่อยกระดับอายุขั้นต่ำในการแต่งงานเป็น 18 ปีบริบูรณ์
ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนหวังว่า กรณีดังกล่าวจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาเหล่านั้น แต่บางส่วนก็ยังไม่ปักใจเชื่อเรื่องรับบกฎหมายศาสนาและพลเรือนที่อยู่อย่างคู่ขนานในมาเลเซีย
ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนหวังว่า กรณีดังกล่าวจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาเหล่านั้น แต่บางส่วนก็ยังไม่ปักใจเชื่อเรื่องรับบกฎหมายศาสนาและพลเรือนที่อยู่อย่างคู่ขนานในมาเลเซีย
“นี่เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างต่อเนื่องในมาเลเซีย และมันไม่มีวิธีการแก้ปัญหาที่ชัดเจนในส่วนนี้” นายเจมส์ นายากัม (James Nayagam) ทนายเด็กกล่าว
โดยนายนายากัมได้เสริมว่า กรณีของเด็กหญิงอายุ 11 ปีนั้น อาจได้รับการสนับสนุนจากชุมชนที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม
“เราสามารถลดปัญหาเหล่านี้ลงไป แต่ผมไม่คิดว่าเราจะสามารถกำจัดมันไปให้หมดได้” นายนายากัมกล่าว
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
“แม่เช็ง” ผู้หญิงแถวหน้า